ตัวชี้วัดขององค์การแรงงานระหว่างประเทศว่าด้วยแรงงานบังคับ

เอกสารฉบับนี้นำเสนอความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับตัวชี้วัดขององค์การแรงงานระหว่างประเทศว่าด้วยแรงงานบังคับ

ตัวชี้วัดเหล่านี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้เจ้าหน้าที่ผู้บังคับใช้กฎหมายอาญาในระดับปฏิบัติ พนักงานตรวจแรงงาน นักสหภาพแรงงาน เจ้าหน้าที่องค์การพัฒนาเอกชน และบุคลากรอื่นๆ นำไปใช้เพื่อคัดแยกบุคคลที่อาจจะตกอยู่ในสถานการณ์แรงงานบังคับจากซึ่งอาจจำเป็นต้องได้รับความช่วยเหลือเร่งด่วน ตัวชี้วัดเหล่านี้แสดงถึงสัญญาณ หรือ “เบาะแส” ที่แสดงถึงความเป็นไปได้ของสภาวะของการบังคับใช้แรงงาน

ตัวชี้วัดเหล่านี้พัฒนาจากทฤษฎีและประสบการณ์การดำเนินงานของโครงการปฏิบัติการพิเศษขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ เพื่อขจัดการใช้แรงงาน บังคับ (ILO’s Special Action Programme to Combat Forced Labour: SAP-FL) โดยที่การพัฒนาตัวชี้วัดเหล่านี้ตั้งอยู่บนพื้นฐานของบทนิยามว่าด้วยแรงงานบังคับตามที่บัญญัติไว้ในอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศว่าด้วยแรงงานบังคับ ค.ศ. 1930 (ฉบับที่ 29) ซึ่งบัญญัติว่าหมายถึง “งานหรือบริการทุกชนิด ซึ่งเกณฑ์เอาจากบุคคลใดๆ โดยการขู่เข็ญว่าจะลงโทษและซึ่งบุคคลดังกล่าวนั้นมิได้สมัครใจที่จะทำเอง”

ทั้งนี้เอกสารฉบับนี้กำหนดตัวชี้วัดจำนวน 11 ข้อ โดยเป็นการให้ตัวอย่างที่เกิดขึ้นจากสถานการณ์ที่เกิดขึ้นจริง เพื่อแสดงรายละเอียดในแต่ละข้อ พร้อมกับคำอธิบายโดยสังเขปเพื่อแสดงให้เห็นถึงลักษณะข้อเท็จจริงของตัวชี้วัดในทางปฏิบัติ ตัวชี้วัดเหล่านี้จะช่วยให้ท่านเข้าใจว่าภาวะการบังคับใช้แรงงานเกิดขึ้นได้อย่างไร และมีผลกระทบต่อผู้เสียหายอย่างไร